►คำแนะนำในการเลือกซื้อและใช้งาน

3 วิธีเลือกซื้อจากวัสดุของบัตรคำศัพท์
1.ขนาดเท่าไหร่ดี ?
ขนาด A5 : ขนาดมาตรฐานสากล / ใหญ่กว่ามือ จับถนัด / มีความชัดเจนมาก
ขนาด A6 : ขนาดพอดีมือ อาจประคองยากหาจะแฟลชเร็วมากๆ / ความชัดเจนระดับนึง ตัวหนังสือและภาพมองเห็นได้ดีไม่เล็กเกินไป / ราคาถูก
2.หนาเท่าไหร่ดี ?
หนา 350 แกรม : ความหนามาตรฐาน / ไม่หนาเกิน ไม่บางเกิน / แฟลชเร็วได้ดี
(บัตรคำศัพท์ไม่ควรหนาเกินไป หากหนาเกินไปทำให้แฟลชเร็วไม่ถนัด จับถือลำบากค่ะ)
3.พิมพ์ 1 หน้า หรือ 2 หน้า ?
พิมพ์ 1 หน้า : ภาพและคำศัพท์อยู่ในหน้าเดียวกัน เด็กจะโฟกัสที่ภาพก่อน คำศัพท์ผ่านตา
พิมพ์ 2 หน้า : ภาพอยู่ด้านหน้า คำศัพท์อยู่ด้านหลัง เด็กเห็นภาพรับรู้ว่าภาพนี้คืออะไร
คุณแม่อยู่ด้านหลังเห็นคำศัพท์ ออกเสียงว่าคืออะไร
และเมื่อคุณแม่แฟลชด้านคำศัพท์ให้น้อง เด็กจะสามารถจำคำศัพท์ได้ จำได้ว่าคำนี้อ่านว่าอะไร
2 วิธีการใช้งานบัตรคำศัพท์อย่างถูกวิธี
วิธีการแฟลชเร็ว : วิธีนี้เป็นการสลับบัตรคำศัพท์แบบรวดเร็ว เป็นการกระตุ้นสมองซีกขวาของเด็กเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการนี้เริ่มได้ตั้งแต่น้อง 5-6 เดือน ให้ดีคือแฟลชก่อนวัย 3 ขวบ การแฟลชวิธีนี้ควรใช้บัตรคำศัพท์ที่มีขนาดใหญ่ (A6 ขึ้นไป หรือ A5 เป็นขนาดมาตรฐาน) เพื่อให้ชัดเจนต่อการเรียนรู้ และถนัดมือผู้แฟลช ไม่ควรใช้หนาเกิน 400 แกรม เพราะอาจทำให้แฟลชลำบากจับถนัดมือ สำคัญไม่ให้เด็กๆคว้าเล่น เป็นการทำลายสมาธิของเด็ก
วิธีการเล่นเกมการ์ด : วิธีนี้เป็นการใช้บัตรคำศัพท์ขนาดเล็ก ประมาณ A7 เล่นคว่ำหงาย,จับคู่ ,วาดตามที่เห็น หรือ เกมหยิบการ์ด ทั้งหมดนี้ เป็นการฝึกสมองซีกขวาให้ทำงานโดยใช้สัญชาติญาณ และความรวดเร็วในการตอบสนอง เนื่องจากเกมการ์ดต้องกำหนดเวลา เพื่อดึงศักยภาพสมองซีกขวาที่ทำงานโดยสัญชาตญาณออกมา เช่น การเล่นเกมหยิบการ์ดที่ต้องแข่งหยิบกันอย่างรวดเร็ว หรือการเล่นเกมวาดภาพตามที่เห็น ที่หงายการ์ดให้ดู 5 วิ แล้ววาดตามภาพจำของสมอง หรือการเล่นเกมจับคู่ เป็นการใช้ความสามารถในการจดจำพริบตาจากสมองซีกขวา เหมาะสำหรับเด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป เด็กวัยนี้จะเริ่มสามารถ ทำตามคำบอก หรือหยิบคว้าการ์ดได้ตามที่บอกได้ค่ะ